Solution 5 : MLPR ON Footpath

ระบบตรวจจับรถจักรยานยนต์ขึ้นฟุตบาท MLPR

ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ @ บริษัท บิ๊กดาต้าซิสเต็ม จำกัด

Reference ข่าว MCOT | เดลินิวส์ | Google

Solution Software อ่านป้ายทะเบียนรถจักรยานยนต์ ที่ปรากฏตามข่าว Reference ข่าว MCOT | เดลินิวส์ | Google บริษัท บิ๊กดาต้าซิสเต็ม จำกัด ได้เชื่อมต่อกล้องของหน่วยงาน กรุงเทพมหานคร กล้อง CCTV Spec DE ทั่วไปบริเวณฟุตบาท ที่มีการฝ่าฝืนทำให้เกิดอันตรายต่อประชาชนผู้ใช้ทางและได้รับความเดือดร้อน โดยใช้ เทคโนโลยีการวิเคราะห์ภาพ (Image Processing) ใช้ในการตรวจจับภาพรถจักรยานยนต์ที่มีการขับขี่บนฟุตบาททางเท้า เพื่อตรวจจับการฝ่าฝืนกฎหมายรถจักรยานยนต์ขับขี่บนทางเท้าฟุตบาททางเท้า โดยกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) มาใช้ร่วมกับเทคโนโลยีการวิเคราะห์ภาพ (Image Processing)   แก้ไขปัญหา การขาดเจ้าหน้าที่เทศกิจ ไปตรวจสอบจุดที่ประชาชนร้องเรียนหรือพบปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน จากรถจักรยานยนต์ขับขี่บนทางเท้าฟุตบาททางเท้า เปลี่ยนแปลงกระบวนการปฏิบัติงานในรูปแบบเดิมที่สิ้นเปลือง บุคลากร เจ้าหน้าที่เทศกิจ พบว่ามีการฝ่าฝืนจำนวนมาก

ปัญหารถจักรยานยนต์ขับขี่บนฟุตบาททางเท้า ด้วยเทคโนโลยีวิเคราะห์ภาพ (Image Processing ) เพื่อเฝ้าดูจักรยานยนต์ขึ้นฟุตบาททางเท้า ที่สามารถทำงานได้ ๒๔ ชั่วโมง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย คุ้มค่า ประหยัดและใช้ทรัพยากร กล้อง CCTV ที่มีอยู่ของกรุงเทพมหานคร และทำให้เจ้าหน้าที่เทศกิจ ผู้รับผิดชอบ แก้ไขปัญหาดังกล่าว มีเครื่องมือที่ทันสมัย และมีเครื่องมือในการปฏิบัติงาน ในกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย หลังจากที่ กล้อง CCTV และระบบซอฟต์แวร์ ได้ตรวจพบ และอ่านป้ายทะเบียนรถจักรยานยนต์ที่ขับขี่บนทางเท้าฟุตบาททางเท้า  

เชื่อมต่อกับระบบบริหารงานเอกสาร โดยมีการจัดทำ ระบบฐานข้อมูลการออกเอกสาร หนังสือแจ้งเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถ, ออกเอกสารบันทึกข้อมูลการเปรียบเทียบปรับ ,ออกบันทึกถ้อยคำผู้ต้องหาประกอบบันทึกเปรียบเทียบปรับ , บันทึกผลการชำระค่าปรับ, หนังสือหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน ,การติดตามผลการดำเนินการของพนักงานสอบสวน ผ่านระบบเครือข่าย ที่ทันสมัย มีความปลอดภัย เกิดประสิทธิภาพในกระบวนการงานของ กรุงเทพมหานคร

Reference Solutionภาพจากข่าว เดลินิวส์

Reference ข่าว MCOT | เดลินิวส์ | Google

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 21 มิ.ย. ที่ศูนย์ระบบเทคโนโลยีจราจรกรุงเทพมหานคร ชั้น 2 ศาลาว่าการ กทม. (เสาชิงช้า) เขตพระนคร นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. พร้อมด้วย นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าฯ กทม. พล.ต.อ.อดิศร์ งามจิตรสุขศรี ที่ปรึกษาของผู้ว่าฯ กทม. และนายสิทธิชัย อรัณยกานนท์ ผู้ช่วยเลขาฯ ผู้ว่าฯ กทม. ร่วมแถลงข่าวยกระดับคุณภาพกล้องวงจรปิดป้องปรามขับขี่บนทางเท้า พร้อมทั้งเยี่ยมชมการเชื่อมโยงสัญญาณภาพจากศูนย์ระบบเทคโนโลยีจราจรกรุงเทพมหานคร (ห้อง CCTV) เพื่อรับชมระบบ AI ตรวจจับการเคลื่อนไหวและแจ้งเตือนแบบอัตโนมัติของผู้กระทำผิดจากการฝ่าฝืนขับขี่บนทางเท้า…

นายชัชชาติ กล่าวว่า กรุงเทพมหานครได้นำระบบเทคโนโลยี AI ร่วมกับระบบกล้อง CCTV เข้ามาใช้ในการกวดขันผู้ที่ฝ่าฝืนขับขี่บนทางเท้า ที่ผ่านมาใช้เจ้าหน้าที่เทศกิจทำหน้าที่ดักจับมาโดยตลอด ซึ่งอาจมีการกระทบกระทั่งกันบ้าง บางครั้งอาจเกิดความไม่โปร่งใส โดยมีการเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบ สามารถทราบว่าทะเบียนรถคันนี้ เป็นของใคร อยู่ที่ไหน โดยมีการทดสอบไปแล้ว 5 จุด จากข้อมูลเมื่อวันที่ 12-20 มิ.ย. 66 ได้แก่ 1.ปากซอยรัชดาภิเษก 36 (ซอยเสือใหญ่อุทิศ) มีรถจักรยานยนต์ขึ้นบนทางเท้า 2,921 ราย 2.ปากซอยเพชรเกษม 28 มี 1,338 ราย 3.หน้าโรงเรียนนิเวศน์วารินทร์ มี 619 ราย 4.ปากซอยเพชรบุรี 9 มี 49 ราย 5.ปั๊ม ปตท.เทพารักษ์ มี 19 ราย โดยสามารถตรวจสอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่ไปยืนเฝ้า โปร่งใสมีหลักฐาน ข้อมูลแม่นยำ สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นใคร เป็นบุคคลธรรมดา หรือเป็นวินมอเตอร์ไซค์ หรือว่าเป็นไรเดอร์ ซึ่งเรามีนโยบายในการเพิ่มกล้องให้ครบ 100 จุด อีกทั้งระบบ AI ยังช่วยลดการใช้ทรัพยากรคน มีหลักฐานชัดเจน หลีกเลี่ยงการกระทบกระทั่ง คือตั้งกล้องไว้ มีใครบ้างทำผิดตรงไหนบ้าง สามารถใช้ข้อมูลนี้ไปขยายผลต่อได้

นายชัชชาติ กล่าวถึงการทำงานของระบบนี้ว่า เมื่อมีผู้ขับขี่ จยย. ขึ้นมาบนทางเท้า กล้อง CCTV กับระบบ AI จะจับภาพป้ายทะเบียนและประมวลผลภาพ ตรวจสอบทะเบียนว่าใครเป็นเจ้าของ จากนั้นสำนักเทศกิจจะรวบรวมข้อมูลส่งหนังสือแจ้งให้ผู้ที่มีชื่อเป็นเจ้าของทะเบียนรถดังกล่าวมาเสียค่าปรับที่สำนักงานเขตข้อดีคือมีระบบประมวลผลที่ใช้ AI หรือว่าใช้ตัวซอฟต์แวร์ ไม่ต้องให้เจ้าหน้าที่เทศกิจไปนั่งเฝ้า เอาเทคโนโลยีมาปรับปรุงพฤติกรรมและเปลี่ยนจิตสำนึก นายชัชชาติ กล่าวต่อไปว่า ในปีนี้เราจะใช้กล้อง CCTV มาช่วยในการควบคุมสัญญาณไฟจราจร ปัจจุบันเรามีระบบไฟจราจรในกรุงเทพมหานครประมาณ 500 จุด หลายจุดเป็นการ Control ด้วย Manual ไม่ได้มีการดูตามปริมาณรถ โดยเฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วน หรือวันเสาร์อาทิตย์ ก็เป็นการตั้งเวลาไว้ ซึ่งบางทีไม่สอดคล้องกับความต้องการอย่างเช่นวันเสาร์-อาทิตย์ เราสามารถใช้กล้องพวกนี้มาดูปริมาณจราจร แล้วก็ปรับสัญญาณไฟจราจรให้สอดคล้องกับความต้องการ ก็ทำให้เราใช้พื้นที่ถนนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยนำกล้องพวกนี้มาเพิ่มเทคโนโลยีในการควบคุมสัญญาณไฟจราจร ปรับเรื่องการเดินทางให้มีการปล่อยสัญญาณไฟจราจรให้สอดคล้องกับปริมาณรถ เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรให้ดีขึ้น ปีนี้ก็จะเป็นปีที่เราจะเน้นพวกนี้ให้มากขึ้นในส่วนของด้านกายภาพของถนน เช่นจุดกลับรถจะอยู่ไกลมาก คงต้องดูด้วยว่าจะสามารถปรับปรุงกายภาพถนนได้ไหม เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือก ไม่ต้องขับย้อนศร แต่นี่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะทำผิดกฎหมาย ถ้าเราเข้าใจเหตุผลว่าทำไมประชาชนถึงต้องทำผิดกฎหมาย อาจจะปรับปรุงในด้านกายภาพให้ดีขึ้น นายชัชชาติ กล่าวว่า ขอให้ทุกคนทราบว่าเรามี กล้อง CCTV พร้อมระบบ AI ซึ่งได้เริ่มดำเนินการแล้ว เหมือนกับเป็นตาวิเศษคอยดูอยู่นะ ต้องฝากพวกเราที่ขับขี่มอเตอร์ไซค์ว่า อย่าไปขี่รถบนทางเท้าเลย อาจจะเกิดการกระทบกระทั่งกับคนเดินเท้า ซึ่งจะมีผลกระทบทั้งเรื่องค่าปรับ เรื่องอาชีพการงานได้ในอนาคต